วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week4 โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Java) [Nice to meet you ‘JAVA’]


Nice to meet you ‘JAVA’

ยินดีที่ได้รู้จักคุณ จาวา



ภาษาจาวาคืออะไร เกิดมาได้ยังไง?

          เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ(Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปีพ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (The Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน






          และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้


รุ่นต่างๆของภาษาจาวา

·       (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด

·       (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม inner class

·       (4 ธันวาคม, ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "จาวา 2" แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง

·       (8 พฤษภาคม, ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย

·       (13 กุมภาพันธ์, ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005)

·       (29 กันยายน, ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics

·       (11 ธันวาคม, ค.ศ. 2006)— รหัส Mustang เป็นรุ่นในการพัฒนาของ Java SDK 6.0 ที่ออกมาให้ทดลองใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004

·       (กำลังพัฒนา กำหนดออก ค.ศ. 2008) — รหัส Dolphin กำลังพัฒนา


ประโยชน์ของภาษาจาวา

           สำหรับการพัฒนาภาษา Java สามารถพัฒนา Application ได้หลากหลายรูปแบบมาก เช่น Application ที่ทำงานบน Windows , Mac , Linux หรือบน Web Application (JSPย่อมาจาก Java Server Page) และการพัฒนา Application บนโทรศัพท์มือถือซึ่งในปัจจุบันสามารถพัฒนาได้บน Android และ BlackBerry และในอนาคตจะยังมีตามมาอีกหลายประเภทอย่างแน่นอน ดังนั้นในภาษา Java จะมีรุ่นที่เป็น SDK อยู่หลายตัว อาทิเช่น J2SE , J2EE , J2ME หรือ SE , EE , ME ซึ่งเอาไว้ใช้งานในส่วนที่ต่างกัน 





จาวาแพล็ตฟอร์ม (Java Platform) คืออะไร ?

            แพล็ตฟอร์ม นั้นมีความหมายรวมถึงฮาร์ดแวร์ หรือซอฟแวร์ที่ทำงานประสานกัน หรือทำงานแยกจากกัน ต่างคนต่างทำ โดยเมื่อรวมคำว่า จาวา (Java) เข้าไปรวมกับ แพล็ตฟอร์ม นั้นจะหมายถึง ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟแวร์ที่ทำงานด้วยภาษาจาวา โดยจาวาแพล็ตฟอร์ม มีทั้งหมด 3 แพล็ตฟอร์มดังนี้
·       J2SE ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น SE (Standard Edition) ไว้สำหรับพัฒนาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป
·       J2EE ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น EE (Enterprise Edition) ไว้สำหรับพัฒนาโปรแกรมในองค์กรใหญ่ๆ หรือมีขอบเขตของโครงการกว้างมาก
·       J2ME ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ME ((Micro Edition) ไว้สำหรับพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือพีดีเอ


ข้อดี-ข้อเสียของJava
  •        ข้อดี

            1.โปรแกรมจาวาที่เขียนขึ้นสามารถทำงานได้หลายplatform โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือcompileใหม่ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไปในการport หรือทำให้โปรแกรมใช้งานได้หลาย platform

            2.ภาษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

            3.ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น

           4.ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย

            5.ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น

            6.มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ

  •        ข้อเสีย

            1.ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลางก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile  โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
            2.Tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)


หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาจาวาและการใช้งานเพิ่มเติมสามารถรับชมได้ที่ลิ้งก์ด้านล่างนี้เลยค่ะ

 ดาวน์โหลดจาวาได้ที่

  

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาจาวา
http://www.thaicreate.com/java/java-what-is-java.html
http://www.amplysoft.com/knowledge/Java%20Platform%20จาวาแพล็ตฟอร์ม%20คืออะไร.html
http://javastick.web44.net/gbjava.html
http://pantip.com/topic/30574842

ขอขอบคุณรูปภาพจาก

http://www.thaicreate.com/java/java-what-is-java.html
http://www.minoosoft.net/tech/images/java.gif
http://www.trebbipoland.com/en/sun-microsystems-uk.php
http://www.thaicreate.com/java/java-system-requirement.html

2 ความคิดเห็น: